ระบบ Precast เป็นนวัตกรรมการสร้างบ้านแบบใหม่ที่ปัจจุบันมีการนิยมสร้างแบบนี้มากขึ้นด้วย จุดเด่นของระบบ Precast ที่ทำให้ผู้ประกอบการลงทุนสร้างโรงงานและอุปกรณ์สร้างชิ้นส่วน คือ ต้นทุนการก่อสร้างอาคารที่ลดลงหากเทียบจากระบบการก่อสร้างแบบปกติ เนื่องจากระยะเวลาในการก่อสร้างที่เร็วขึ้น ส่งผลให้ค่าแรงช่างถูกลง คุณภาพงานก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานเนื่องจากผลิตในโรงงาน สามารถเปิดโครงการได้รวดเร็วทันความต้องการของตลาด และยังนำระบบวิธีการไปใช้กับโครงการอื่น ๆ ต่อได้อีกด้วย

 

     Precast  เป็นการนำเอาชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาประกอบหรือติดตั้งเป็นชิ้นงานเป็นบ้าน พรีคาสท์ก็จะเป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จและเป็นที่นิยมกันมากในประเทศไทย ระบบ Precast (พรีคาสท์) รือชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปยังสามารถผลิตหรือหล่อสำเร็จได้ทั้งที่ไซต์ ซึ่งเรียกว่าแบบหล่อกับที่ (Site Cast) และหล่อจากโรงงาน (Plant Cast) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของลักษณะงานก่อสร้างเป็นหลัก หลักการสำคัญของบ้านพรีคาสท์คือไม่มีเสาและคาน แต่เป็นระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนักแทน ซึ่งผนังสำเร็จรูปก็ผลิตด้วยวิธีที่แตกต่างกันบางรายเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปธรรมดา

      หากผนัง Precast เป็นผนังคอนกรีตที่ออกแบบเพื่อทดแทนผนังก่อ ไม่ได้มีส่วนในการรับแรงทางโครงสร้าง ก็สามารถรื้อ ทุบ สกัดได้ แต่ให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้ไปกระทบกระเทือนส่วนอื่น โดยเฉพาะกับเสา คาน ที่เป็นโครงสร้างหลักของอาคาร แต่หากผนังเป็นโครงสร้าง Precast แบบรับแรง หากต้องการ รื้อ ทุบ เจาะ สกัด จะมีข้อจำกัดที่จะมีผลต่อโครงสร้าง ต้องได้รับคำแนะนำจากวิศวกรผู้ออกแบบของโครงการนั้น ๆ ว่าจุดใดที่สามารถทำได้ ร่วมกับเทคนิคการเจาะที่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษสำหรับ X-Ray โครงสร้างของแผ่นผนัง เพื่อไม่ให้การดัดแปลงนั้นโดนตำแหน่งเหล็กเสริมที่สำคัญ

       สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอีกเรื่อง คือ เรื่องของรอยต่อชิ้นส่วนของระบบ Pre-Cast ที่ขึ้นอยู่แต่ละเทคนิคของผู้ประกอบการว่าจะให้มีรายละเอียดการเชื่อมต่ออย่างไร โดยทั่วไปจะให้ความสำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ เรื่องของความแข็งแรง เรื่องความเรียบร้อยสวยงาม และเรื่องของการบำรุงรักษา ลักษณะรอยต่อของแผ่น Precast ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณรอยต่อผนังกับผนังในแนวดิ่ง ผนังชิ้นบนกับผนังชิ้นล่างในแนวนอน และผนังกับพื้น ซึ่งรอยต่อดังกล่าวมักถูกออกแบบให้ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ และอากาศ

 คุณสมบัติของ Precast

  • เรียบสวย เนี้ยบกว่า ทุกชิ้นผ่านระบบควบคุมคุณภาพที่สม่ำเสมอ และขัดผิวจนเรียบจึงได้ระดับเท่ากัน สามารถทาสีหรือตกแต่งด้วยวอลล์เปเปอร์ได้ทันที ไม่มีปัญหาผนังเป็นคลื่นเหมือนการก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป
  • มั่นใจในคุณภาพการก่อสร้าง  เพราะผลิตสำเร็จจากโรงงานที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้นับการยอมรับจากทั่วโลก ทุกขั้นตอนผ่านการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงมั่นใจในคุณภาพที่ได้มาตรฐานเดียวกันทุกชิ้น
  • แข็งแรง ทนทาน  ผนังบ้านเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทุกชิ้นจึงมีความคงทนแข็งแรงกว่าการก่อสร้างแบบผนังก่ออิฐทั่วไปหลายเท่า หมดปัญหาการแตกร้าวจากการฉาบ
  • ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยมากกว่า ก่อสร้างโดยใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่แข็งแรงเป็นตัวรับน้ำหนักของบ้าน ไม่ต้องใช้เสาและคาน ทำให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น และสามารถออกแบบและตกแต่งภายในได้สวยงามลงตัวกว่า
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เนื่องด้วยมีการผลิตแผ่นชิ้นงานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาจากโรงงาน Pruksa Precast และมีการขนส่งแผ่นมาติดตั้งที่โครงการก่อสร้าง ทำให้ลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งลดมลภาวะทางเสียง ฝุ่น และปัญหาการจราจรในสถานที่ก่อสร้าง

ขั้นตอนการสร้างบ้านแบบ Precast

 ขั้นตอนที่ 1  ตอกเสาเข็มและการสกัดหัวเข็ม

โดยคำนวณขนาดและความยาวของเสาเข็มจากผลการทดสอบลักษณะของชั้นดินในบริเวณก่อสร้าง และทำการกำหนดตำแหน่งเข็มให้ถูกต้องตามแบบก่อนตอกเสาเข็มลงดิน

ขั้นตอนที่ 2 ติดตั้งฐานรากบ้าน และฐานรากรั้ว

ทำการติดตั้งฐานรากบ้าน / รั้วบนเสาเข็ม ที่ตัดให้ได้ผิวเรียบตามระดับที่กำหนด ทำการเสริมเหล็กและตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีต

ขั้นตอนที่ 3 ติดตั้งรั้วบ้าน

 Precast ขนส่งแผ่น Precast มาที่หน้าโครงการและทำการติดตั้งแผ่นผนัง Precast ชั้นที่ 1 และติดตั้งรั้วหลังบ้าน+ รั้วข้างบ้าน ในวันที่ 1 หลังจากนั้น วันที่ 2 ติดตั้ง พื้นชั้น 2 ตามด้วย แผ่นผนังชั้นที่ 2 และติดตั้งรั้วหน้าบ้าน ในวันเดียวกัน โดยการติดตั้งจะมีประสานรอยต่อระหว่าง ผนัง+ผนัง และ ผนัง+พื้น ด้วยคอนกรีตพิเศษ และเสริมความแข็งแรงด้วยเหล็กเส้นในจุดต่อ (Joint)

ขั้นตอนที่ 4  ติดตั้งโครงหลังคาและมุงหลังคา

ประกอบโครงหลังสำเร็จรูป (SAMART TRUSS) และติดตั้งโครงหลังคาสำเร็จรูป ติดตั้งฉนวนกันความร้อนก่อนมุงหลังคา (เฉพาะบางโครงการ)

ขั้นตอนที่ 5 งานแต่งเปลือย+งานติดตั้งบัวปูน+งานทาสีภายใน,ภายนอก

 ช่างจะเริ่มติดตั้งบัวปูนตามแบบที่กำหนด ในขณะเดียวกันช่างสีก็จะเริ่มดำเนินการทาสีรองพื้นชั้นที่ 1 พร้อมกับงานแต่งเปลือยผนังบางจุดที่เป็นจุดต่อของแผ่นผนังกับผนัง และผนังกับบัวปูน เพื่อเตรียมการทาสีจริง

ขั้นตอนที่ 6 งานฝ้าเพดาน ไฟฟ้าและประปา

ช่างไฟฟ้าจะเริ่มเดินสายไฟฟ้าและงานฝ้าเพดานก็จะเริ่มพร้อมๆกัน รวมไปถึงงานประปาที่สามารถทำได้พร้อมกันคู่ขนาน

ขั้นตอนที่ 7 งานปูกระเบื้องปูพื้น , ติดตั้งสุขภัณฑ์ และติดตั้งบันได

ช่างปูกระเบื้องจะเริ่มปูกระเบื้อง พื้น , ผนังภายในห้องน้ำ , พื้นห้องครัว และพื้นชั้นที่ 1 รวมไปถึงการปูลามิเนตที่ชั้น 2หลังจากนั้นก็ทำการติดตั้งสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ และงานติดตั้งบันไดสำเร็จรูป

ขั้นตอนที่ 8 งานติดตั้งประตู, หน้าต่าง

งานติดตั้งประตู , หน้าต่าง อะลูมิเนียม ที่เป็นภายนอก และงานติดตั้งวงกบและบานประตู ที่ชั้นสอง

 ขั้นตอนที่ 9 งานติดตั้งประตูรั้วหน้าบ้าน , รั้วลูกกรงรอบบ้าน

งานติดตั้งประตูเหล็กหน้าบ้าน และรั้วลูกกรงเหล็กรอบบ้าน