สิ่งต้องพิจารณาสาเหตุที่ทำให้ บ้านทรุด คือ เสาเข็มเยื้องศูนย์ ถ้าตำแหน่งเสาของอาคารไม่ตรงกับศูนย์กลางของกลุ่มเสาเข็มอันเนื่องจากการวางตำแหน่งเสาเข็มผิดพลาดหรือ เกิดความคลาดเคลื่อนขณะติดตั้งเสาเข็ม และ ตำแหน่งที่ผิดพลาดนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งอาคาร โดยเฉพาะถ้าเป็นฐานรากเสาเข็มเดี่ยว ฐานรากจะพลิกตัวไปในทิศทางเดียวกันทำให้อาคารทรุดเอียงทั้งหลัง เป็นการทรุดเอียงทั้งระนาบลักษณะเช่นนี้อาคารจะไม่แตกร้าวเพราะไม่มีแรงดึงรั้งภายในโครงสร้าง แต่ถ้าการเยื้องศูนย์เกิดขึ้นกับฐานรากบางฐานจะทำให้เกิดการทรุดตัวแตกต่างและทำให้เกิดรอยร้าวที่ผนัง และ โครงสร้าง
ดังนั้น ถ้าไม่มีรอยแตกร้าวให้พบเห็นตามคำบอกเล่าของผู้พักอาศัยสาเหตุเรื่องการเยื้องศูนย์จึงเข้าข่ายที่เป็นไปได้ แต่การก่อสร้างที่มีผู้ควบคุมดูแลใกล้ชิดไม่น่าจะมีกรณีเสาเข็มเยื้องศูนย์ทุกฐาน สาเหตุประเด็นนี้จึงสมควรตัดทิ้งด้วยเช่นกัน
อีกประการที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ เสาเข็มรับน้ำหนักไม่เพียงพอ ส่วนมากที่พบเห็นสำหรับอาคารทรุดเอียงมักจะเกิดจาก เสาเข็มชนิดที่ปลายล่างไม่ได้หยั่งในชั้นทราย ซึ่งตามศัพท์ทางวิศวกรรมจะเรียกว่า ? เสาเข็มรับแรงเสียดทาน ? หรือFriction pile เสาเข็มประเภทนี้อาศัยแรงยึดเกาะระหว่างดินกับผิวเสาเข็มเป็นแรงต้านทานน้ำหนักที่กดลงบนหัวเสาเข็ม เสาเข็มพวกนี้จะทรุดตัวมากกว่าเสาเข็มที่ปลายอยู่ในชั้นทราย และ ปริมาณการทรุดตัวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุก ถ้าใช้เสาเข็มประเภทรับน้ำหนักอาคารต้องคำนึงเรื่องน้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแต่ละต้น ( Load / pile ) ให้มีค่าใกล้เคียงกัน ถ้ามีความแตกต่างกันมากจะทำให้อาคารทรุดเอียงโน้มไปทางด้านที่มีน้ำหนักกดลงมาก และนั่นก็คือ อาคารทรุดเอียงไปทางด้านที่เป็นตำแหน่งศูนย์รวมของน้ำหนัก
สำหรับอาคารที่ยกตัวอย่างมาพิจารณาสาเหตุประการหลังนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะอาคารที่ทรุดเอียงจะไม่แตกร้าวให้เห็น และ การทรุดตัวประเภทนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นไม่รวดเร็วจึงทำให้อยู่มาได้นานเป็น 10 ปี ตรงกับคำบอกเล่าของเจ้าของอาคารทุกประการสำหรับคำถามที่ว่าแล้วทำไมจึงไม่เกิดเหตุการณ์ทรุดตัวฉับพลันในภายหลัง ? เมื่ออาคารทรุดเอียงถึงระดับหนึ่งเสาเข็มบางต้นอาจหักหรือหลุดจากฐานรากทำให้เกิดการกระตุกลงแบบฉับพลันแบบ Domino
ทุกครั้งที่เกิดเหตุทรุดตัวจมลงดินในลักษณะนี้ เมื่อขุดดินลงไปดูฐานรากเพื่อหาสาเหตุ จะพบว่าฐานรากพลิกตัวและเสาเข็มแตกหัก และมักจะสรุปว่า เป็นเพราะเสาเข็มแตกหักจึงทำให้อาคารทรุดจม การสรุปเช่นนี้ยังถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะ เหตุที่อาคารทรุดจมจริง ๆ อาจไม่ได้เกิดจากเสาเข็มช่วงบนหัก เสาเข็มมาหักภายหลังจากการกระตุกลงของอาคาร ถ้าเสาเข็มช่วงบนแตกหักน่าจะพบเห็นและมีการแก้ไขมาตั้งแต่ ตอนก่อสร้างแล้ว หรือถ้าไม่แก้ไขในตอนนั้นก็ควรจะเกิดปัญหาทรุดตัวและอาคารแตกร้าวมาก่อนหน้านี้ ดังนั้นการสำรวจตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงควรทำการเจาะสำรวจสภาพชั้นดิน ตรวจสอบความยาวเสาเข็มที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อพิจารณาว่าปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินประเภทใด นำแบบแปลนมาวิเคราะห์น้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแต่ละต้นว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด จึงจะให้พิจารณาหาสาเหตุที่ถูกต้องแน่นอนได้
สาเหตุหลักที่ทำให้ บ้านทรุด
- เสาเข็มอยู่ในดินอ่อน เสาเข็มสั้นเกินไปหรือยาวไม่เพียงพอ ปลายเสาเข็มไม่หยั่งลงในชั้นดินเหนียวแข็งหรือทรายแน่น
- เสาเข็มบกพร่อง เสาเข็มแตกหรือหักจากการขนส่ง หรือ ขณะกดลงดิน ถ้าเป็นเสาเข็มเจาะอาจเกิดการคอดหรือขาดขณะถอนปลอกเหล็กกันดิน
- เสาเข็มเยื้องศูนย์ ศูนย์กลางเสาเข็ม หรือ กลุ่มเสาเข็มเยื้องตำแหน่งกับเสาอาคาร น้ำหนักที่กดลงทำให้ครอบหัวเสาเข็มพลิกตัวลักษณะเช่นนี้มักพบมากกับฐานรากเสาเข็มต้นเดียวที่ตอกผิดตำแหน่งแล้วแก้ไขไม่ถูกวิธี
- ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิด การเลือกใช้เสาเข็มยาวเท่ากันไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดปัญหา หากปลายเสาเข็มส่วนหนึ่งอยู่ในดินแข็งหรือทรายแน่น ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งอยู่ในชั้นดินอ่อน เสาเข็มจะทรุดตัวไม่เท่ากัน
- ดินเคลื่อนไหล อาจเป็นเพราะมีการขุดดินบริเวณข้างเคียง หรือ ดินริมฝั่งน้ำทำให้ดินใต้อาคารเสียเสถียรภาพ เกิดการเคลื่อนไหลของดินออกจากใต้อาคาร หากดินที่เคลื่อนไหลมีปริมาณมากๆ จะทำให้ครอบหัวเสาเข็ม ( ฐานราก ) และ เสาเข็มถูกดันเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม และ อาจทำให้เสาเข็มหลุดออกจากครอบหัวเสาเข็มได้