ปัจจุบัน การสร้างรั้วบ้าน ถือเป็นเรื่องสำคัญ รั้วที่ให้ความมั่นคงแข็งแรงให้แก่รั้วคอนกรีต รั้วประเภทนี้จะมีการลงเสาเข็ม หล่อฐานตอม่อ มีคานคอดิน เสารั้ว และทับหลังที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนตัวกำแพงรั้วอาจจะทำด้วยคอนกรีตบล็อก อิฐมอญหรือหินประเภทอื่นก็ได้ แล้วแต่ความต้องการ โดย รั้วประเภทนี้จะพบเห็นได้ทั่วไป บางแห่งอาจมี การดัดแปลงรูปแบบ ให้แตกต่างออกไปบ้าง เช่น เสริมด้วย ไม้ โลหะ เป็นต้น

ข้อปฏิบัติของ การสร้างรั้วบ้าน

แต่โครงสร้างของฐานราก จะมีลักษณะเดียวกันหมด จะมีความแตกต่างกันบ้างก็ในด้านของรายละเอียด เช่น รั้วที่สูง และมีขนาดใหญ่อาจใช้เสาเข็มที่ยาวขึ้น ใช้จำนวนเสาเข็มให้มาก ขึ้น ใช้เหล็กเส้นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือรั้วที่สร้างอยู่บนดินที่อ่อนหรืออยู่ติดชายน้ำจะต้องมีการเสริมความ แข็งแรงของฐานราก เพื่อป้องกันมิให้รั้วทรุดตัวหรือเอียงในภายหลัง ทุกอย่างนั้นควรเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบ ที่จะต้องกำหนดให้เหมาะสม

 

การสร้างรั้วบ้าน วิธีการติดตั้งเข้ากับรั้วบ้านเดิม

รั้วบ้านส่วนต่อเติมควรติดตั้งโดยยึดเข้ากับโครงสร้างรั้วบ้านเดิมที่เป็นส่วนของคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ได้แก่ คานคอดิน เสารั้วบ้าน หรือคานทับหลังรั้วบ้าน เพราะเป็นจุดที่เจาะยึด หรือ ฝังเหล็กเสียบเหล็กได้ดี โดยถ่ายน้ำหนักสู่ระบบฐานรากหรือโครงสร้างใต้ดินโดยตรง

ส่วนวิธีการยึดนั้น จะยึดโครงรั้วบ้านใหม่เข้ากับด้านบนของคานทับหลังรั้วบ้านเดิม (ภาพซ้าย) หรือ เลือกยึดด้านข้างโดยใช้สกรูยึดเพลทเหล็กเข้ากับโครงสร้าง แล้วเชื่อมโครงสร้างรั้วบ้านใหม่เข้ากับเพลทเหล็ก อีกวิธีหนึ่งคือฝังเหล็กหนวดกุ้งเข้ากับเนื้อคอนกรีตด้วยกาวซีเมนต์หรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้เสียบเหล็ก จากนั้นนำมาเชื่อมกับโครงสร้างรั้วบ้านต่อเติม วิธีหลังนี้ต้องอาศัยความแม่นยำในการต่อเชื่อมสูง จึงมักไม่เป็นที่นิยมนัก

ข้อปฏิบัติของ การสร้างรั้วบ้าน

สภาพรั้วบ้านเดิม

       นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่เจ้าของบ้านควรพิจารณา เนื่องจากโครงสร้างของรั้วบ้านทั่วไปมักจะรับน้ำหนักด้วยเสาเข็มแบบสั้น หากเป็นไปได้ควรนำแบบรั้วบ้านมาขอรับคำปรึกษาจากวิศวกรโครงสร้างจะดีที่สุด เพื่อช่วยประเมินว่าโครงสร้างรั้วบ้านยังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ โดยรั้วบ้านจะที่ต่อเติมไม่ควรเกิดการทรุดตัวมาก คานทับหลังไม่แอ่นตกท้องช้าง ไม่มีการปริแตกของเสารั้วบ้าน วัสดุผนังที่ก่อไว้ไม่แตกทะลุ หรือ มีรอยแยกใหญ่ผิดปกติ รั้วบ้านที่มีลักษณะดังกล่าวนี้  หากฝืนต่อเติมไปอาจยิ่งก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น

รั้วบ้านโปร่ง/รั้วบ้านทึบ

       เจ้าของบ้านหลายคนอยากให้รั้วบ้านโปร่ง สามารถมองทะลุและระบายอากาศได้  เพื่อลดความอึดอัด โดยเฉพาะบ้านที่มีระยะร่นอาคารน้อย ระยะห่างระหว่างตัวบ้านกับรั้วค่อนข้างกระชั้น หรือ กรณีที่มีความสูงของบ้านมากๆ หากทำรั้วบ้านทึบตันจะยิ่งอึดอัด ทั้งนี้การทำรั้วบ้านโปร่งอาจออกแบบเป็นจังหวะโปร่ง – ทึบ สลับกันไป ตามตำแหน่งระยะและมุมมองที่เหมาะสมในเรื่องความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ตาม การต่อเติมรั้วบ้านให้สูงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัวด้านสายตาเท่านั้น ส่วนเรื่องการป้องกันเสียงรบกวนยังช่วยได้ไม่มาก

ข้อปฏิบัติของ การสร้างรั้วบ้าน

 น้ำหนักของวัสดุที่ใช้ต่อเติมรั้วบ้าน

หลีกเลี่ยงวัสดุประเภทผนังก่อ เพราะ การต่อเติมจะสร้างน้ำหนักให้กับโครงสร้างรั้วบ้านเดิมเพิ่มขึ้น ควรเลือกใช้วัสดุเบา ยกตัวอย่างเช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีทั้งแบบแผ่นบอร์ด และ แผ่นยาวที่ออกแบบหน้ากว้างมาสำหรับทำรั้วบ้านโดยเฉพาะ บางรุ่นมีสีและพื้นผิวเลียนแบบไม้ให้เลือกใช้ด้วย โดยติดตั้งกับโครงสร้างเบา  ตามระยะโครงคราวที่ผู้ผลิตกำหนด (ส่วนใหญ่มักมีระยะประมาณ 30-60 ซม.ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาของวัสดุ)