นวัตกรรมการสร้างบ้านในปัจจุบันถือว่ามีหลากหลายวิธีพร้อมกับอุปกรณ์แบบใหม่ๆ หนึ่งในนั้นคือ อิฐบล็อคนาโน ที่เริ่มนำมาใช้การสร้างบ้านมาขึ้น ซึ่งอิฐบล็อคนาโน เป็นระบบการก่อสร้างแบบโมดูลล่าร์ (Modular Building Method) กำลังคิดค้นพัฒนาเช่นเดียวกับในประทศออสเตรเลีย เพื่อให้การก่อสร้างลดการเสียเศษวัสดุ ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ทำหน้าที่เป็นผนัง เสา คานคอดิน เสาเอ็น คานเอ็น ได้ในตัวเดียวกัน ซึ่งเป็นผนังรับแรง ทำให้มีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษกว่าระบบการก่อสร้างเสา-คาน ทำให้บ้านที่ก่อสร้างด้วยอิฐบล็อค นาโน ไม่ต้องมีเสาให้เกะกะสายตา การสร้างบ้านด้วย อิฐบล๊อคนาโนไม่ต้องมีเสาคานมารับน้ำหนัก เพราะอาศัยหลัก wall bearing system โดยใช้ผนังอาคารเป็นตัวรับน้ำหนักแทนที่น้ำหนักจะลงไปที่เสาคาน และตัวอิฐเองถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้ถึง 15 ตัน
จุดเด่นของการสร้างบ้านด้วยอิฐบล็อค นาโน
ไม่ต้องมีเสาคานมารับน้ำหนัก เพราะอาศัยหลัก wall bearing system โดยใช้ผนังอาคารเป็นตัวรับน้ำหนักแทนที่น้ำหนักจะลงไปที่เสาคาน ซึ่งน้ำหนักจะเฉลี่ยลงไปที่ผนังโดยรอบ แล้วลงไปที่ฐานรากที่ทำเป็นฐานแผ่ด้านล่าง หากเกิดการทรุดตัวก็จะทรุดลงไปเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นเทคนิคของการก่อสร้างสมัยแรกๆ ในแถบประเทศที่สร้างบ้านด้วยอิฐหรือดิน การสร้างด้วยวิธีนี้นิยมใช้ในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยเองพบได้ที่ วัดพระแก้วหรือพระบรมมหาราชวัง จะหมดปัญหาตัวผนังร้าวหรือตัวอาคารทรุดไม่เท่ากัน
การผลิต อิฐบล็อคนาโน
อิฐบล็อคนาโน ที่คิดขึ้นใช้กระบวนการหล่อแบบเปียก (Wet Process) มีส่วนผสมของซีเมนต์ ทรายหยาบ หินเกล็ด และน้ำ เป็นคอนกรีตเบาที่มีน้ำหนักก้อนละ 5 กิโลกรัม ใช้หลักการของ ผนังรับแรง (Wall Bearing) ทำให้รับแรงอัดได้มากถึงก้อนละ 16 ตัน และทุกก้อนนั้นมีเดือยล็อคช่วยให้ผนังแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ใช้งานสะดวกกว่าอิฐมอญ อิฐมวลเบา ตรงที่ไม่ต้องวางเรียงแล้วฉาบปูน แต่ใช้วิธีจุ่มปูนกาวแล้วเรียงลงล็อคเหมือนตัวต่อเลโก้ ยิ่งต่อกันก็ยิ่งรับแรงอัดได้มากขึ้น ทำให้คงทน แข็งแรง มีรูใส่สายไฟ ใส่ท่อประปาพร้อม แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่เหมาะสำหรับการก่อสร้างบ้านหรืออาคารเพียง 1 – 2 ชั้น
ข้อจำกัดอิฐบล๊อคนาโน
ด้วยตัวของวัสดุเอง การใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนัก และความต้องการของอาจารย์ชาติให้เจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิค การสร้างอิฐบล็อคนาโนอาจจะไม่เหมาะกับการสร้างอาคารที่สูงเกินกว่า 2 ชั้น หรือบ้านที่มีพื้นที่ใหญ่มาก เพราะจะเริ่มมีการคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักและจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ทำให้การสร้างบ้านหลังใหญ่มากไม่อยู่ในวงเงินหกหลักต้นๆ อย่างที่ตั้งใจไว้
นอกจากนั้นแล้วการต่อเติมจากตัวผนังเดิมอย่างที่เราเคยชินกันอาจจะไม่สามารถทำได้เพราะผนังอิฐบล็อคนาโนเป็นตัวรับน้ำหนักอาคาร ถ้ามีการเจาะ รื้อผนังบางส่วนออกจะกระทบกับการรับน้ำหนักตัวอาคารที่ทำไว้ตอนแรกได้ ไม่นับความยากเล็กๆ น้อยๆ อย่างการเจาะรู เพราะเนื้อคอนกรีตแข็งแรงมาก และถ้าจะใช้ก่อเป็นผนังภายในก็ต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะอิฐหนาถึง 20ซม. ถ้าก่อแล้วอาจจะทำให้ผนังบ้านดูหนาเทอะทะ กินพื้นที่บ้านไปไม่น้อย
อิฐบล๊อคนาโนต่างจากวัสดุอื่นๆ อย่างอิฐมวลเบาที่เรารู้จักกันอย่างไร
- การก่ออิฐบล๊อคนาโน ไม่ได้ใช้วิธีฉาบปูนในการก่ออิฐ เพื่อให้งานก่ออิฐบล็อคนาโนเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องเป็นช่างก็สามารถก่อได้ จึงออกแบบการก่ออิฐ โดยการใช้เทคนิคเดียวกับการเล่นต่อตัวต่อเลโก้ให้มีเดือยล็อคด้านบนและด้านล่าง ด้วยการจุ่มอิฐลงกับปูนกาวแทนการใช้ปูนก่อแล้ววางประกบกับตัวเดือยอิฐอีกก้อนก็วางเรียงซ้อนกันได้แล้ว จึงตัดขั้นตอนการผสมปูนฉาบ ตัดปัญหาเรื่องการฉาบปูนไม่เรียบร้อย หรือฉาบปูนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดปัญหาดิ่งฉากได้ง่ายที่วงกบประตูและหน้าต่าง และทำให้คนที่ไม่ใช่ช่างสามารถก่ออิฐเองได้ ตัวอิฐบล็อคนาโนแต่ละก้อนหนา 20ซม. เมื่อก่อผนังแล้ว ผนังบ้านจะหนากว่าผนังที่ก่อด้วยอิฐมวลเบา
- ตัวบล๊อคนาโน ใช้คอนกรีตผสมแบบเปียก (wet process) เนื้อคอนกรีตจึงดูดซึมน้ำน้อย วันที่ฝนตกอากาศเย็นชื้นช่างก็ยังก่อสร้างทำงานได้ แข็งแรง ทนทาน ก้อนหนึ่งรับน้ำหนักได้ถึง 15ตัน น้ำหนักเบาเพราะมีช่องว่างกลางก้อนให้มีอากาศไหลเวียนหรือใส่วัสดุที่เป็นฉนวนลงไป หรือเสริมเหล็กเส้น เทคอนกรีตลงไปเพื่อให้ตัวบล็อครับแรงได้มากขึ้น สามารถฉาบได้เหมือนผนังฉาบทั่วไป หรือจะไม่ฉาบปล่อยเป็นผนังเปลือยแล้วทาสีทับเลยก็ทำได้ เป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง
- อิฐบล็อคนาโนมีให้เลือกใช้งานตามความต้องการ 19สูตร ตั้งแต่อิฐบล็อคสูตรคอนกรีตผสมแกลบ ผสมโฟม สำหรับห้องเย็น ห้องเก็บเสียง หรืออาคารทั่วไป โรงจอดรถ ห้องเก็บของ จนไปถึงสูตรเสริมเหล็กสำหรับอาคารที่ต้องการความแข็งแรง ปลอดภัยสูงหรือป้องกันภัยพิบัติ เหตุผลที่มีหลายสูตรนี้นอกจากเพื่อการใช้งานแล้ว ยังเพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต